basic

3 วิธีสร้างพลังของร่างกายมนุษย์

วิธีที่ 2: ATP แบบจานด่วนจากกลูโคส (Anaerobic Glycolytic System)

วิธีนี้ถูกเรียกใช้เมื่อเราใช้แรงอย่างหนักเป็นเวลา 30 วินาที - 2 นาที การสร้าง ATP แบบที่สองนี้ได้จากการสลายน้ำตาลกลูโคส(หน่วยย่อยที่สุดของคาร์โบไฮเดรต จำได้ไหม) วิธีนี้ไม่ใช้ออกซิเจนเข้าช่วย จึงใช้เวลาในการสร้างพลังงานเร็วมาก แต่มีข้อเสียคือผลจากการสลายน้ำตาลกลูโคสจะได้กรดแลคติกมาครับ เจ้ากรดนี้แหละเป็นตัวการglycolytic1.jpgทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยและล้าที่กล้ามเนื้อ ดังนั้นร่างกายของเราจะทนกับสภาพนี้ได้แค่ 2-3 นาทีก็ต้องหยุดจากความล้า ธรรมชาติทำอย่างนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อต้องรับภาระหนักจนเกินไป (แต่สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายจะสามารถทนกรดแลคติกได้มากขึ้น และสามารถที่จะยืดเวลาออกไปได้)

ตัวอย่างของกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายสร้างพลังงานโดยวิธีนี้เช่น การวิ่งเต็มแรงขึ้นบันได โดยแบ่งได้ว่าที่ 10 วินาทีแรกร่างกายจะสร้าง ATP จากวิธีที่ 1 คือเอาที่มีเก็บอยู่มาใช้เลย หลังจากนั้นวิธี Glycolytic นี้ก็จะเข้ามามีบทบาท และจะสร้างพลังงานต่อไปอีกประมาณ 2 นาที ซึ่งก็พอดีกับเมื่อเรารู้สึกเมื่อยขาจากกรดแลคติกจนต้องหยุดนั่นแหละ

วิธีที่ 3: ATP แบบผลิตช้า แต่มีให้ใช้ได้นาน (Aerobic System)

วิธีนี้เป็นการสร้าง ATP ที่ช้าที่สุด แต่เป็นแหล่งผลิตพลังงานหลักของเรา ขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่หรือแม้กระทั่งเวลานอนร่างกายก็สร้างพลังงานด้วยวิธีนี้เป็นหลัก และร่างกายยังใช้วิธีนี้เมื่อเราทำกิจกรรมที่ยาวนานแต่ไม่หนักมากด้วย เช่น การเดินทางไกล หรือ วิ่งจ้อกกิ้งที่กินเวลานานแต่ไม่ได้ใช้แรงจนถึงขั้นหอบแฮ่กๆ

Aerobic glycolysis


การสร้างพลังงาน 2 วิธีแรกไม่ใช้ออกซิเจน แต่วิธี Aerobic Glycolytic System นี้ใช้ครับ โดยออกซิเจนก็ได้จากการหายใจเข้าไปนั่นเอง และการสร้าง ATP แบบสุดท้ายนี้ใช้สารตั้งต้นคือ คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน และ โปรตีน ซึ่งการจะนำสารตัวไหนมาใช้เท่าไร จะมีสัดส่วนที่ต่างกันตามความหนักเบาและระยะเวลาของกิจกรรมดังต่อไปนี้

 

  • ยิ่งกิจกรรมเบาเท่าไร ไขมันยิ่งถูกนำมาใช้มากเท่านั้น ไขมันถูกนำมาใช้น้อยลงเมื่อเริ่มหายใจไม่ทัน
  • ยิ่งกิจกรรมหนักเท่าไร คาร์โบไฮเดรตยิ่งถูกนำมาใช้มากเท่านั้น ที่ความหนักระดับหายใจหอบแฮ่กๆ คาร์โบไฮเดรตอาจถูกใช้ถึง 80% ในขณะที่ไขมันถูกใช้แค่ 20%
  • เมื่อเริ่มออกแรง คาร์โบไฮเดรตจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนมาก ส่วนไขมันจะถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป (ร่างกายไม่ต้องการใช้คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นพลังงานหลักจนหมด จึงเปลี่ยนไปใช้ไขมันให้มากขึ้นแทน) ที่เวลา 30 นาทีหลังจากออกกำลังอย่างต่อเนื่อง ไขมันจะถูกนำมาใช้ถึง 60% ขณะที่คาร์บ 40%
  • โปรตีนถูกนำไปสลายเป็นพลังงานแค่ส่วนน้อยเท่านั้น (ปกติไม่เกิน 5%) อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่ทำต่อเนื่องกันเป็นเวลานานมากๆหลายชั่วโมงมีแนวโน้มที่จะใช้โปรตีนเป็นสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งอาจสูงได้ถึง 18% ตัวอย่างของกิจกรรมเช่น วิ่งมาราธอน (สังเกตนักวิ่งมาราธอนส่วนมาก ร่างกายจะมีกล้ามเนื้อเล็กและลีบ)
comments powered by Disqus